นโยบายที่กำหนดขึ้นในสังคมหรือองค์การใด ๆ นั้น ก็เพื่อเป็นแนวคิดในการดำเนินงานเพื่อสนองความต้องการหรือความประสงค์ของบุคคล ในองค์การนั้น และ ลักษณะของนโยบายก็จะสอดคล้องกับความเชื่อและลัทธิการปกครองขององค์การนั้น องค์การที่มีระบอบการปกครองของประชาธิปไตยนโยบายที่กำหนดขึ้นมักจะได้ข้อมูลและมีการกลั่นกรองข้อมูลจากบุคคลหลายฝ่าย และลัทธิการปกครองแบบอัตตาธิปไตยนโยบายท่กำหนดมักจะทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการของบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกลุ่มชนชั้นปกครอง และข้อมูลของนโยบายมักจะได้จากเหตุผลของคนกลุ่มเดียว อย่างไรก็ตามไม่ว่าสังคมหรือองค์การจะมีลักษณะการปกครองหรือรูปแบบในการบริหารเป็นเช่นไร การกำหนดนโยบายย่อมต้องมีขั้นตอนและเป็นกระบวนการ อันนำมาซึ่งนโยบาย กุศโลบายในการดำเนินงานที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ของการบริหารและนโยบายท่กำหนดขึ้นจะต้องเป็นที่รับทราบและยอมรับจากบุคคล ฝ่าย ภายในหน่วยงานต้องได้รับการผสมผสานเข้าด้วยกันให้เป็นแนวทางกว้าง ๆ เพื่อการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ที่เราเรียกว่านโยบายในการบริหารงาน
นโยบาย(Policy) และกุศโลบาย(Strategy) เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันมากเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความตั้งใจของผู้บริหารว่าควรจะทำ หรือไม่ควรทำกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใด ในอนาคต หรือ ในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น และเป็นแนวคิดอันจะนำไปสู่การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพโดยเป็นที่ยอมรับกันว่าหน้าที่อันสำคัญประการแรกของผู้บริหาร คือการกำหนดนโยบายหรือกุศโลบายในการบริหารงาน ซึ่งนโยบายและกุศโลบายจะเป็นตัวที่ให้ทิศทางและข้อมูลในการวางแผน กล่าวคือ
ก.นโยบายและกุศโลบาย ยิ่งได้รับการพัฒนา หรือจัดทำโดยความละเอียดรอบคอบและเป็นที่เข้าใจโดยชัดเจนมากเพียงใด ย่อมทำให้การวางแผนเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากเพียงนั้น
ข.นโยบายและกุศโลบาย เป็นยุทธการ (Tactics) อันสำคัญในการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
ค.นโยบายและกุศโลบายมีผลอันสำคัญต่อการบริหารงานทุกชนิดและทุกลักษณะงาน
ในการจัดองค์การจะสามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม เมื่อมีการแบ่งงานกันตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และทุกคนรู้จักงานและหน้าที่ของตน ปฏิบัติงานภายในขอบเขตที่องค์การมอบหมายมา แต่งานที่ดำเนินการจะสามารถสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารที่มีอำนาจในการมอบหมายอำนาจหน้าที่นั้นจะต้องกำหนดความรับผิดชอบของบุคคลแต่ละคนในการปฏิบัติงานอีกด้วย
อำนาจหน้าที่ (Authority) หมายถึง สิทธิอันชอบธรรมที่ได้รับมอบหมายมาให้สั่งบุคคลอื่นปฏิบัติตามที่ตนต้องการได้ ส่วนใหญ่แล้วผู้บริหารระดับสูงจะมีการมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับต่อไปเมื่อมีการสั่งงานเพื่อให้บุคคลนั้นสามารถปฏิบัติงาน ส่วนมากแล้วอำนาจหน้าที่จะต้องมีอำนาจในการสั่งการและการตัดสินใจควบคู่กันไปด้วย โดยรู้จักการสั่งการ คือมอบหมายงานให้กับใต้ผู้บังคับบัญชาทำงานอย่างต่อเนื่อง และตัดสินใจ ในลักษณะงานที่อยู่ภายในขอบเขตแห่งอำนาจตน อำนาจหน้าที่เป็นอำนาจที่บุคคลผู้มีอยู่ได้รับมอบหมายมาโดยถูกต้องตามกฎหมาย และขณะเดียวกันก็มีสิทธิให้รางวัลและลงโทษผู้ที่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่นั้นได้อีกด้วย
อำนาจหน้าที่ (Authority) แตกต่างจากอำนาจ (Power) คือ อำนาจหน้าที่เป็นสิทธิที่ได้รับมอบหมายมาโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่อำนาจเป็นสิ่งที่บุคคลนั้นสร้างขึ้นมาเองและทำให้บุคคลอื่นยอมรับเพื่อที่จะปฏิบัติตาม อำนาจเกิดในด้านบวกหรือด้านลบก็ได้
ความรับผิดชอบ (Responsibility) เป็นภาระผูกพันของบุคคลในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยบุคคลจะต้องรับผิดชอบในการทำงานเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ในองค์การที่มีการวางโครงสร้างแบบเป็นทางการจะมีการกำหนดความรับผิดชอบของบุคคลที่ทำหน้าที่ในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างชัดเจนและให้อำนาจหน้าที่ (Authority) ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยดี อย่างไรก็ตามปัญหาของความสมดุลกันระหว่างความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ก็มีมากขึ้นในขณะที่องค์การขยายใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีขอบเขตของอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในส่วนของตนเพิ่มขึ้นด้วย จึงมีความสับสนในเรื่องของงาน ตลอดจนปัญหาของตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดแบ่งความรับผิดชอบในกิจกรรมต่างๆขององค์การนั้น ควรคำนึงถึงปัจจัย ต่อไปนี้
สร้างผลงานอย่างโดดเด่น ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสูงสุด
งานเสร็จตรงตามเวลาและสอดคล้องกับงบประมาณของลูกค้า
อันที่จริงแล้ว งานตกแต่งภายใน ไม่แตกต่างอะไรไปจากการทำอาหารที่ทุกคนสามารถทำกันเองได้ เพียงแต่ว่านักออกแบบตกแต่งภายในก็เหมือนพ่อครัว ที่จะสามารถทำอาหารได้อร่อย และรวดเร็ว ซึ่งคุณสามารถ เลือกทานได้โดยไม่จำเป็นต้องไปหัดทำให้เสียเวลาและเหน็ดเหนื่อยโดยไม่จำเป็นนักออกแบบตกแต่งภายในที่ดี มักจะออกแบบและเขียนแบบรายละเอียด ให้คุณสามารถใช้เป็นเสมือนเข็มทิศ ในการตกแต่งบ้านคุณให้ประสพความสำเร็จตามความประสงค์ได้เป็นอย่างดี การตกแต่งบ้านโดยปราศจากแบบหรือนักออกแบบตกแต่งภายในแล้ว เปรียบเสมือนการเดินท่องป่าโดยไร้แผนที่และเข็มทิศเลยทีเดียวหากจะว่าไปแล้ว ประโยชน์ของการว่าจ้างนักออกแบบตกแต่งภายในมืออาชีพ เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ลูกค้าจะลงมือออกแบบและทำเองนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 5 ข้อใหญ่ดังต่อไปนี้
1. ประหยัดเวลา นักออกแบบตกแต่งภายในมืออาชีพมักจะมีประสพการณ์ และวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ทำให้งานที่ยากกลับกลายเป็นง่ายและรวดเร็ว ทำให้ลูกค้าประหยัดเวลาที่ต้องทุ่มเทให้กับงานตกแต่งนี้ไปทำงานประจำของตนเอง ที่สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำได้มากกว่า
2. ประหยัดค่าใช้จ่าย บางครั้ง อาจดูเหมือนว่าการว่าจ้างนักออกแบบตกแต่งภายในนั้นเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็น แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากคุณต้องการตกแต่งภายในที่มีมูลค่าโครงการ ตั้งแต่ 5 แสนบาทขึ้นไป การใช้บริการของนักออกแบบตกแต่งภายใน จะช่วยคุณประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นต่างๆ ได้มากเลยทีเดียวนอกจากนี้ นักออกแบบตกแต่งภายในที่ดียังสามารถให้คำแนะนำในการเลือกซื้อสินค้า หรือของประดับตกแต่งต่างๆที่ได้มาตราฐาน และหลีกเลี่ยงสินค้าที่มีคุณภาพต่ำ หรือมีอายุการใช้งานน้อย ซึ่งเป็นการลดค่าเสียหายจากการลองผิดลองถูกต่างๆ ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งนักออกแบบที่มีประสพการณ์ การทำงานสูงๆจะสามารถแนะนำให้ลูกค้าหลีกเลี่ยงจากผู้รับเหมา ที่ดูไม่มั่นคงหรือมีแนวโน้มจะทิ้งงาน อันจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากกับลูกค้าในภายหลังได้อีกด้วย
3. ตรงตามประโยชน์ใช้สอย การจัดแบ่งพื้นที่หรือวางผังนั้น จำเป็นต้องใช้นักออกแบบที่มีประสพการณ์พอสมควร จึงจะสามารถ แบ่งพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า และมีความสวยงามไปพร้อมๆ กัน บ่อยครั้งที่ลูกค้าแบ่งพื้นที่เองแล้วไม่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น เล็กเกินไป หรือใหญ่เกินไปตลอดจนอาจมีลำดับการใช้งานที่ไม่ถูกต้องทำให้ลูกค้าไม่สามารถ ใช้งานได้สะดวกทั้งๆ ที่ได้เสียเงินไปแล้วการใช้บริการของนักออกแบบ ที่มีประสพการณ์จะมีประโยชน์และแก้ปัญหาในด้านการจัดแบ่งพื้นที่ ได้มากเลยทีเดียว
4. สวยงาม นักออกแบบตกแต่งภายในส่วนใหญ่ มักจะมีความสามารถพิเศษ ในการสร้างผลงานออกแบบได้สวยงามอย่างที่คุณคาดไม่ถึง และนักออกแบบบางรายก็จะมีหนังสืออ้างอิงที่ดีๆ ให้ลูกค้าอ่านและดู เพื่อสร้างเสริมจินตนาการของตนได้เป็นอย่างดี
5. เป็นที่ปรึกษาที่ดีในงานตกแต่งภายใน บ่อยครั้ง ที่ลูกค้าที่ ทำการตกแต่งภายในเองมักจะมีปัญหาจุกจิกต่างๆที่ไม่รู้ว่าจะถามหรือปรึกษากับใคร รวมทั้ง การทำงานตกแต่งบ้านมักจะมีขั้นตอนมากมาย (หากคุณต้องการให้บ้านออกมาสวย) และกลายเป็นปัญหาใหญ่ๆ ได้ง่ายๆ ทำให้ลูกค้าหลายท่านที่ทำบ้านเอง ถึงกับถอดใจหรือตั้งใจว่าจะไม่สร้างบ้านหรือตกแต่งบ้านเองอีกเลย ดังนั้น การว่าจ้างนักออกแบบตกแต่งภายในมืออาชีพนั้น เป็นทางเลือกที่ดี โดยลูกค้าจะขอคำปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือได้ตลอดเวลา รวมทั้งในกรณีที่ลูกค้า หมดกำลังใจหรือท้อแท้ นักออกแบบตกแต่งภายในจะกลายเป็นผู้ให้กำลังใจที่ยอดเยี่ยมเลยทีเดียว
ซึ่งหากพิจารณาดูตามสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันแล้ว ลูกค้าจำนวนมากหันมาว่าจ้างนักออกแบบตกแต่งภายใน เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจำเป็น และมีประโยชน์ (โดยเฉพาะใน กรณีที่คุณมีงบประมาณมากๆ และไม่ต้องการ โดนใครหลอก) ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างนักออกแบบ ตกแต่งภายใน จะมีราคาถูกมากเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นพร้อมทั้งปัญหาไร้สาระต่างๆ มากมายที่จะระดมเข้ามาทำให้คุณปวดหัวไมสิ้นสุด ซึ่งเมื่อแลกกับจำนวนเงินค่าจ้างนักออกแบบตกแต่งภายในที่ไม่สูงมากแล้วจัดว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากเลยทีเดียว
แหล่งที่มา : decorreport.com